สารสกัดมะขามแบบน้ำ

ชื่อผลิตภัณท์   :  สารสกัดมะขามแบบน้ำ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะขามมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนของทวีปแอฟริกา อินเดียและเอเชีย  สำหรับในประเทศไทยมีปรากฏอยู่ทั่วไปในแถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะขามเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง มะขามเป็นไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่มีกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นมีลักษณะขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ใบแก่จะสลับใบทิ้งแล้วแตกใบอ่อนขึ้นมาแทนในราวเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน หลังจากนั้นตาดอกจะเจริญและพัฒนาเป็นกิ่งและ ดอกจะบานในปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ดอกมะขามมีลักษณะเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ปลายกิ่ง ฝักหรือผลมะขามมีความยาวตั้งแต่ 7.5-20 เซนติเมตร แต่ละข้อจะคอดเล็กน้อย มีเมล็ดสีดำหรือน้ำตาลเข้มรูปค่อนข้างกลมห่อหุ้มด้วยเนื้อสีน้ำตาล เนื้อมะขามที่ดีจะต้องมีความชื้น 20-30 % มีค่าความเป็นกรด 10-13 % มีน้ำตาล 10-30 % สำหรับปริมาณกรดและน้ำตาลในฝักมะขามอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ การดูแลรักษาและสิ่งแวดล้อม

หมวดหมู่: , ป้ายกำกับ:

คำอธิบาย

ชื่อผลิตภัณท์   : สารสกัดมะขามแบบน้ำ
ชื่อทางวิทยาศาสตร์  : Tamarindus indica Linn.
ชื่อวงศ์   : LEGUMINOSAE
ชื่อสามัญ   : Tamarind, Ma-kham (มะขาม)
ส่วนที่ใช้   : เนื้อ

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

มะขามมีถิ่นกำเนิดในแถบร้อนของทวีปแอฟริกา อินเดียและเอเชีย  สำหรับในประเทศไทยมีปรากฏอยู่ทั่วไปในแถบภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มะขามเป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง มะขามเป็นไม้ต้นขนาดกลางจนถึงขนาดใหญ่มีกิ่งก้านสาขามาก เปลือกต้นมีลักษณะขรุขระและหนา สีน้ำตาลอ่อน ใบเป็นรูปขอบขนาน ปลายและโคนใบมน ใบแก่จะสลับใบทิ้งแล้วแตกใบอ่อนขึ้นมาแทนในราวเดือนมีนาคมถึงปลายเดือนเมษายน หลังจากนั้นตาดอกจะเจริญและพัฒนาเป็นกิ่งและ ดอกจะบานในปลายเดือนพฤษภาคมถึงเดือนมิถุนายน ดอกมะขามมีลักษณะเป็นช่อเล็ก ๆ อยู่ปลายกิ่ง ฝักหรือผลมะขามมีความยาวตั้งแต่ 7.5-20 เซนติเมตร แต่ละข้อจะคอดเล็กน้อย มีเมล็ดสีดำหรือน้ำตาลเข้มรูปค่อนข้างกลมห่อหุ้มด้วยเนื้อสีน้ำตาล เนื้อมะขามที่ดีจะต้องมีความชื้น 20-30 % มีค่าความเป็นกรด 10-13 % มีน้ำตาล 10-30 % สำหรับปริมาณกรดและน้ำตาลในฝักมะขามอาจเปลี่ยนแปลงได้ ขึ้นอยู่กับพันธุ์ การดูแลรักษาและสิ่งแวดล้อม

ประโยชน์และสาระสำคัญ

เนื้อในฝักมะขามที่แก่จัดเรียกว่า “มะขามเปียก” มะขามที่ใช้เป็นยาใช้มะขามชนิดเปรี้ยว เพราะมีกรดอินทรีย์ประกอบด้วยหลายตัวด้วยกัน เช่น Tataric acid, Citric acid, Malic Acid เป็นต้น ใช้เป็นยาแก้อาการท้องผูก เป็นยาระบายอ่อนๆ แก้ไอขับเสมหะ ช่วยลดอุณหภูมิในร่างกาย บรรเทาอาการไข้ และลดการกระหายน้ำได้ โดยเฉพาะ Malic Acid ที่เป็นกรดผลไม้หรือ AHAs ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาผิวหน้าหลายประการ เช่น ช่วยทำให้มีการหลุดลอกของผิวชั้นนอก  และกระตุ้นการสร้างเซลล์ใหม่ๆ ทำให้ผิวหนังอ่อนวัยอยู่เสมอ ลบรอยเหี่ยวย่น ให้ความยืดหยุ่นของผิวหนังในชั้นผิวหนังแท้ดีขึ้น  นอกจากนี้สารที่พบที่เมล็ด คือ Tannin มีฤทธิ์ฝาดสมาน ใช้แก้อาการท้องเสียได้อีกด้วย

สารสำคัญใน มะขาม

ประโยชน์ของมะขามทางยา

แก่น รสฝาดเมา สรรพคุณกล่อมเสมหะและโลหิต เนื้อมะขาม รสเปรี้ยว ชุ่มเย็น ใช้ขับเสมหะแก้อาการเบื่ออาหาร แก้อาการคลื่นไส้อาเจียน รักษาท้องผูก ใบแก่ มีรสเปรี้ยวฝาด ใช้นำมาปรุงเป็นยาแก้ไอ โรคบิด ขับเสมหะในลำไส้ฟอกโลหิตขับเลือดลมในลำไส้ แก้หวัดคัดจมูกในเด็กเมล็ดแก่ มีรสฝาดมัน ใช้ถ่ายพยาธิไส้เดือนในท้องเด็ก แก้ท้องร่วงและอาเจียนเปลือกต้น รสฝาด แก้ท้องอืด ท้องแน่น อาหารไม่ย่อย แก้เจ็บปากเจ็บคอ สมานแผลเรื้อรัง

ประโยชน์ของมะขามทางด้านเครื่องสำอาง

1. ช่วยต้านอนุมูลอิสระ ป้องกันออกซิเดชั่นของไขมันและแก้อาการอักเสบ

2. ชะลอความแก่ ต้านริ้วรอยและเสริมความยืดหยุ่นของผิวเนื่องจากการยับยั้งเอ็นไซม์ Proteolytic และ Hydrolytic ซึ่งทำลาย Collagen, Elastin และ Hyarulonic acid ที่ผิวหนัง

3. สมานผิวและให้ความชุ่มชื้นแก่ผิว

4. กระตุ้นระบบภูมิคุ้มกันของผิวหนังด้วยการยับยั้งการระคายเคืองและให้ผลในการปกป้องผิว

5. ช่วยในการรักษาเชื้อราบนผิวหนังได้

6. เนื่องจากในมะขามพบ AHA และVitamin C ในปริมาณมาก จึงช่วยในการขจัดเซลล์ผิวที่เสื่อมสภาพและบำรุงช่วยให้ผิวกระจ่างใสได้ด้วย